โรคข้ออักเสบ ภัยเงียบ..ที่ต้องเฝ้าระวัง

Last updated: 4 ธ.ค. 2565  |  1830 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคข้ออักเสบ ภัยเงียบ..ที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคข้ออักเสบ ภัยเงียบ..ที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคข้ออักเสบ หรือโรคข้อเสื่อมในสุนัข เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออายุของสุนัขที่มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งโรคข้อเสื่อมในสุนัขเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มผิวข้อต่อเสื่อม และขาดน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณข้อต่อ ไปจนถึงเยื่อหุ้มข้ออักเสบ ซึ่งอาการที่เจ้าของสามารถสังเกตุด้วยตัวเองได้เบื้องต้น มีดังนี้

  1. การทรงตัวของน้องหมาไม่ดีเหมือนเดิม มีอาการยืนขาสั่น
  2. ร้องขึ้นมาเวลาต้องลุกหรือนั่ง
  3. นอนบนพื้นได้ลำบาก
  4. การเดินผิดแปลกไป เริ่มเดินขาหลังปัดไปปัดมา เดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
  5. กล้ามเนื้อฝ่อและลีบ เกิดจากการที่ใช้ขาหลังได้น้อยลง
  6. มีพฤติกรรมนั่งหรือนอนมากกว่าการเดินหรือวิ่ง เนื่องจากความเจ็บปวดตรงส่วนที่อักเสบ
  7. ข้อบวม
  8. มีไข้


หากสุนัขของคุณมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการและทำการรักษาให้เร็วที่สุด แต่ว่าโรคข้อเสื่อมไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้ สามารถทำให้ได้เพียงดูแลเพื่อชะลออาการ ไม่ให้อาการหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โดยวิธีชะลออาการมีดังนี้

  1. ป้อนยาให้แก่สุนัขของท่านวันละ 1-2 ครั้ง รับยาจากสัตว์แพทย์เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยเป็นยาแก้อักเสบและลดปวด ในกลุ่ม NSAID (Non – Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) เช่น Carprofen, Etodolac, Meloxicam เป็นต้น แต่ตัวยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงคืออาจก่อให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารจึงควรให้ทานร่วมกับยาลดการหลั่งกรด และยาเคลือบกระเพาะอาหาร
  2. รับประทานอาหารสุนัขที่มี กลูโคซามีน (Glucosamine) เป็นส่วนประกอบ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกระดูกของสุนัขของท่าน จะเป็นส่วนช่วยทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
  3. หมั่นให้น้องหมาออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากโรคข้อเสื่อมอาจเกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จึงควรให้น้องออกกำลังกายเบา ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่สม่ำเสมอ จะช่วยคงมวลกล้ามเนื้อพร้อมทั้งเสริมสร้างให้ร่างกายสามารถรักษาการเคลื่อนไหวของข้อต่อของสุนัขของท่านได้
  4. ทำกายภาพบำบัดและประคบเพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่งการประคบเย็นเหมาะสำหรับน้องหมาที่มีอาการอักเสบใหม่ ๆ ไม่เกิน 48 ชั่วโมง การประคบร้อน เพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบ ทำให้เส้นเลือดขยาย ลดความหนืดของน้ำไขข้อ และทำให้ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น
  5.  การผ่าตัด หากน้องหมามีอาการที่รุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีข้างต้นได้อาจต้องทำการพิจารณาให้ผ่าตัดเพื่อรักษา โดยใช้วิธีผ่าตัดเชื่อมข้อ (Arthrodesis) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Replacement Arthroplasty) การปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนจากการเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อน (Autogenous Osteochondral Transplanting) หรือรักษาด้วย Stem cell เป็นต้น โดยสัตวแพทย์จะพิจารณาจากระดับอาการของสุนัขของท่าน


โรคข้อเสื่อม ถือเป็นภัยเงียบที่เมื่อรู้ตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้องหมาเป็นโรคนี้ การควบคุมน้ำหนักให้สมส่วน และการทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้น้องหมามีสุขภาพข้อต่อที่แข็งแรง และห่างไกลจากโรคข้อเสื่อมได้ในที่สุด

ตรวจเลือดสัตว์ ทำหมันสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ 24 ชั่วโมง สัตวแพทย์บริการฉุกเฉิน โรงพยาบาลสัตว์ฉุกเฉิน ขูดหินปูนสัตว์ ศัลยกรรมสัตว์ ศัลยแพทย์ทางประสาท สัตวแพทย์เฉพาะทาง ทำคลอดสัตว์ ผ่าตัดสัตว์ ศัลยแพทย์ทางประสาทฉุกเฉิน ศัลยแพทย์อัมพฤกษ์ทางประสาท ศัลยแพทย์โรคเนื้องอกทางประสาท ตรวจเลือดสัตว์ ทำหมันสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ 24 ชั่วโมง สัตวแพทย์บริการฉุกเฉิน โรงพยาบาลสัตว์ฉุกเฉิน ขูดหินปูนสัตว์ ศัลยกรรมสัตว์ ศัลยแพทย์ทางประสาท สัตวแพทย์เฉพาะทาง ทำคลอดสัตว์ ผ่าตัดสัตว์ ศัลยแพทย์ทางประสาทฉุกเฉิน ศัลยแพทย์อัมพฤกษ์ทางประสาท ศัลยแพทย์โรคเนื้องอกทางประสาท
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้