Last updated: 30 ส.ค. 2566 | 1953 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายๆคนอาจมีความเข้าใจว่าการที่ สุนัขหรือแมวอ้วนดูมีสุขภาพดี และมีความสุข โดยที่ไม่ทราบถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาถ้าสัตว์เลี้ยงของ ท่านมีภาวะอ้วน เช่นเดียวกับในมนุษย์
โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหา หรือโรคอื่นๆตามมามากมาย ในสุนัขและแมวเองก็ไม่ต่างกัน โดยสุนัข และแมวที่มีภาวะอ้วนอาจเสี่ยงต่างการเกิดโรคต่างๆได้เช่น โรคของระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกจากการที่ข้อต่อต่างๆต้องรับภาระจากน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป นอกจากนี้ยะงมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือดและ ภาวะตับอ่อนอักเสบ อีกด้วย
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงของท่านอ้วน โดยทั่วไปแล้ว จะต้องรู้ก่อนว่ามาตรฐานน้ำหนักตัวของสุนัขแต่ละพันธุ์อยู่ที่เท่าไหร่ เช่น ชิวาว่าจะมีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่แล้วประมาณ 2 กิโลกรัม จากนั้นก็นำค่านั้นมาคำนวณ กล่าวคือ เมื่อไหร่ที่สุนัขมีน้ำหนักตัวมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวมาตรฐานของพันธุ์นั้น ๆ ก็จะจัดว่าสุนัขตัวนั้นอยู่ในสภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน
โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะอ้วนจะมาพร้อมกับอายุของสัตว์เลี้ยงที่มากขึ้น ยิ่งถ้าไปทำหมัน น้ำหนักตัวก็จะขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความขยันลดลง ชอบนอนมากขึ้นในขณะที่กินเท่าเดิม และเมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้นก็จะทำให้ข้อต่อกระดูก ข้อสะโพก ข้อขา ก็ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย
แล้วจะป้องกันโรคอ้วนได้อย่างไร ? โดยหลักการ คือ ลดการให้สารอาหารพลังงานและสลายอาหารดังกล่าวมากขึ้น โดยกินกากใยอาหารมากขึ้น กินพวกไขมัน และอาหารพลังงานสูงน้อยลง รวมไปถึงรวมไปถึงวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่นออกกำลังกายมากขึ้น ห้ามหยิบยื่นอาหารให้สัตว์เลี้ยงนอกจากมื้ออาหารปกติ หริอให้สัตว์อยู่นอกบ้านเวลาคนกำลังกินหรือปรุงอาหาร เพื่อเป็นก่ารลดการอยากอาหารของสัตว์ เป็นต้น โดยหลังจากที่น้ำหนักตัวลดลงแล้ว ควรตรวจเช็คสูตรอาหารควบคุมน้ำหรักตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์
และเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่านก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองอ้วน ถ้าจะแสดงความรักให้กับเขาด้วยการมอบอาหารและขนมให้กับน้องหมาน้องแมว ก็ควรให้ในปริมาณที่พอดี เลือกอาหารที่เหมาะกับช่วงอายุและสายพันธุ์ของเขา ความอ้วนก็จะไม่มาถามหาสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างแน่นอน
24 ส.ค. 2567
11 พ.ย. 2566
13 ก.ย. 2567