+ ศูนย์โรคระบบประสาทสัตว์เลี้ยง


สัตวแพทย์ทำการตรวจร่างกายสัตว์ป่วยทางระบบประสาท แบบองค์รวม เช่น

  • การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ เพื่อประเมินเส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ
  • การตรวจการรับความรู้สึกของผิวหนัง เพื่อประเมินเส้นประสาทรับความรู้สึก
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ เพื่อประเมินระบบประสาทโดยรวม
  • การใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค อาทิเเช่น การ X-ray และ MRI Scan ตามลำดับการรักษา


วางแผนการรักษาทั้งทางด้านอายุรกรรมและผ่าต้ดศัลยกรรมโรคระบบประสาทได้อย่างเหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง รวมถึงการให้คำแนะนำต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยง เพื่อรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับโรค และสามารถดูแลสัตว์ป่วยทางระบบประสาทได้อย่างถูกต้อง


+ ทีมสัตวแพทย์ประจำ ศูนย์โรคระบบประสาทสัตว์เลี้ยง

image

image

วิดีโอ

สาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในสุนัข
  • พันธุกรรม (genetic) ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้
  • ความผิดปกติแต่กำเนิด (congenital) มีการศึกษาเทียบระหว่างลักษณะกระดูกคอในลูกสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนกับพันธุ์อื่น
  • โครงสร้างร่างกาย (body conformation) พบว่าลักษณะของโครงสร้างร่างกายก็เป็นปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคนี้ได้
  • อาหาร (nutrition) พบว่าอาหารหรือพฤติกรรมการกินอาหารอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ 
นัดหมายแพทย์เฉพาะทาง

ความรู้สัตว์เลี้ยง

ให้คำแนะนำต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยง เพื่อรู้ และ เข้าใจ เกี่ยวกับโรค และสามารถดูแลสัตว์ป่วยทางระบบประสาทได้อย่างถูกต้อง

ศูนย์ผ่าตัดสัตว์เลี้ยง กรุงเทพฯฝั่งธนบุรี โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์ โดยทีมอาจารย์สัตวแพทย์ศัลยกรรมการผ่าตัดสัตว์เลี้ยง (ประสบการณ์ 30 ปี)

น้องด๊องแด๊ง มีอาการไม่มีแรง จึงเข้ามาตรวจกับนายสัตวแพทย์ลัทธิสิทธิ์ อิสสรารักษ์ ผลการตรวจและการวินิจฉัย พบว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ความผิดปกติทางระบบประสาท: ความผิดปกติที่ส่งผลต่อระบบประสาท เช่น ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ อาจทำให้แขนขาอ่อนแรงได้

เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค

ในปัจจุบันการเลี้ยงสุนัขนั้นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยส่วนมากเจ้าของจะเลี้ยงน้องหมาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว แต่หากว่าวันใดวันหนึ่ง น้องหมาที่เราเลี้ยงอยู่นั้นเกิดอาการไม่ทักทายเจ้าของเหมือนก่อน หรือแม้อาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไปจนถึงกัดเจ้าของได้นั้น อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของโรคสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้